ใคร ๆ ก็เคยโดนมิจฉาชีพโทรหา และในทุกวันนี้ มิจฉาชีพก็มีทริคใหม่ ๆ ออกมาเพื่อที่จะหลอกล่อเราให้โอนเงินหรือให้ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นก็สามารถนำไปทำอะไรที่ผิดกฎหมายได้หลายอย่าง รวมถึงอาจทำให้สูญเสียทรัพย์สินได้มากมาย ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับ วิธีป้องกันมิจฉาชีพ ภัยจากมิจฉาชีพที่เราต้องใส่ใจและรับรู้ เพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพที่มีแนวโน้มว่าจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ

9 วิธีป้องกันมิจฉาชีพ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อถูกหลอกลวง

เพราะมิจฉาชีพมีกลโกงหลายอย่างที่สามารถดูดเงินหรือดูดข้อมูลส่วนตัวของเราได้หลากหลายวิธี ทำให้เราต้องรู้จักวิธีป้องกันมิจฉาชีพที่สามารถป้องกันกลโกงได้ทุกรูปแบบ ซึ่งวิธีป้องกันภัยร้ายจากมิจฉาชีพ จะมีดังนี้

1. รู้จักกลโกงมิจฉาชีพ

กลลวงของมิจฉาชีพมีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น

  • การโทรเพื่อขอรายละเอียดต่าง ๆ เช่น รายละเอียดบัญชีธนาคาร รหัสผ่าน ผ่านทางอีเมล ข้อความ สายโทรศัพท์ ส่วนใหญ่มักจะอ้างเป็นนักกฎหมาย ตำรวจ หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ
  • การหลอกลวงด้านการลงทุนและการเงิน ส่วนใหญ่มักจะอ้างเกี่ยวกับผลตอบแทนที่เกินจริง ซึ่งไม่น่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง
  • การซื้อขายออนไลน์ เช่น การอ้างว่าเป็นตัวแทนของแอพพลิเคชันขายสินค้าชื่อดัง
  • การแอบอ้างว่าเป็นบุคคลอื่น เช่น ตำรวจ สถาบันการเงิน หรือผู้ที่อยู่ในวงการทางกฎหมาย บางครั้งอาจอ้างเป็นคนในครอบครัวหรือคนใกล้เคียง

2. ระมัดระวังเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว

ไม่แบ่งปันข้อมูลส่วนตัวให้กับใครเป็นอันขาด โดยเฉพาะการแบ่งปันข้อมูลกับมิจฉาชีพที่โทรมาที่เบอร์โทรศัพท์ของเรา การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว อาจเป็นใบเบิกทางให้กับมิจฉาชีพให้สามารถทำอะไรเกี่ยวกับข้อมูลของเราได้หลายอย่าง รวมถึงข้อมูลบัญชี บัตรประชาชนและอื่น ๆ อีกมากมาย

3. อย่ากดลิงก์เป็นอันขาด

หลีกเลี่ยงการกดลิงก์ที่น่าสงสัย เช่น ลิงก์จากอีเมล จากข้อความ หรือผ่านแอพพลิเคชันสื่อสารต่าง ๆ เพราะลิงก์เหล่านั้นอาจถูกโปรแกรมมาให้แบ่งปันข้อมูลแบบอัตโนมัติ การเลี่ยงกดลิงก์เหล่านั้นจะเป็นวิธีป้องกันมิจฉาชีพที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

มิจฉาชีพ

4. เสริมความปลอดภัยออนไลน์

ใช้พาสเวิร์ดที่แข็งแรง ผสมกันระหว่างตัวอักษร ตัวอักษรพิเศษ และตัวเลข และพยายามหลีกเลี่ยงการใช้พาสเวิร์ดซ้ำในหลายแพลตฟอร์ม รวมถึงเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวผ่านทางแชท หรือทางอีเมล เป็นต้น

5. หากถูกให้โอนเงิน อย่าโอนเงินเด็ดขาด

ไม่ว่าจะเป็นสถาบันทางการเงิน ตำรวจ แอพพลิเคชันต่าง ๆ จะไม่มีนโยบายเกี่ยวกับการโทรมาให้โอนเงินไปตามบัญชีต่าง ๆ เพราะฉะนั้น อย่าโอนเงินไปยังบัญชีของมิจฉาชีพเป็นอันขาด แม้ว่าคำพูดของมิจฉาชีพจะดูน่าเชื่อถือก็ตาม

6. ตรวจสอบบัญชีการเงินตัวเองเป็นประจำ

ตรวจสอบบัญชีการเงินเป็นประจำทุกอาทิตย์ ทั้งบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต บัตรเดบิต เพื่อตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินที่เราไม่ได้เป็นคนทำ เพื่อการรับรู้ว่าเรากำลังถูกมิจฉาชีพเล่นงานอยู่หรือไม่ หากไม่ใช่เรา ให้อาญัติทันทีเพื่อป้องกันการถูกดูดเงินเรื่อย ๆ

7. หากมิจฉาชีพรู้ข้อมูลเรา ไม่ควรตกใจ

เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่เคยโดนมิจฉาชีพโทรมา มิจฉาชีพมักจะรู้ข้อมูลหลาย ๆ อย่างของเรา อาจเป็นชื่อ เลขบัตรประชาชน ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคาร ผู้เขียนเองก็เคยเจอประสบการณ์นี้เช่นกัน สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคืออย่าตกใจ หลังจากนั้นให้ตัดสายทิ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองเปิดเผยข้อมูลต่อไป

8. ตรวจเช็คเบอร์โทรศัพท์แปลก ๆ

เบอร์โทรจากมิจฉาชีพส่วนใหญ่ที่โทรมาจะไม่ใช่เบอร์ที่ขึ้นต้นด้วย 08x-xxx-xxxx แต่จะเป็นเบอร์ที่ขึ้นต้นด้วย +66xxx อย่างไรก็ตาม เบอร์มิจฉาชีพบางเบอร์ก็อาจเป็นเบอร์ขึ้นต้น 08x-xxx-xxxx ได้ เพราะฉะนั้น อย่าไว้วางใจเบอร์แปลกเป็นอันขาด และทางที่ดีที่สุดคือใช้แอพพลิเคชัน Whoscall เพื่อกรองเบอร์มิจฉาชีพ

9. อย่าลืมเตือนผู้อื่นด้วย

นอกจากการติดตามกลลวงใหม่ ๆ ของมิจฉาชีพแล้ว การบอกต่อให้กับสังคมหรือคนใกล้เคียงเกี่ยวกับมิจฉาชีพ กลลวงต่าง ๆ และวิธีป้องกันมิจฉาชีพ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสังคม เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันป้องกันมิจฉาชีพร่วมกัน

วิธีป้องกันมิจฉาชีพ มีด้วยกันหลายวิธี แต่สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกเลยก็คือการ “ตั้งสติ” เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ป้องกันการถูกดูดเงิน ดูดข้อมูล ที่อาจส่งผลต่อชีวิตของเราได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง


อ่านบทความเพิ่มเติม :

เหตุเพลิงไหม้ สิ่งที่ ต้องทำ และ ห้ามทำ ในที่พักอาศัย อาคาร

วัตถุต้องสงสัย หากเจ้าหน้าที่ รปภ หรือคนทั่วไปเจอ ต้องทำอย่างไร?

7 วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน รับมือน้ำท่วม ป้องกันชีวิตทรัพย์สิน

ไอคอนLine ติดต่อจ้างรปภ พูดคุยผ่าน Line
ไอคอนโทร ติดต่อจ้างรปภ โทรหาเรา